วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

                                                               กฎหมายอินเตอร์เน็ต 

   ตอนนี้ที่ประเทศไทยออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฏาคม 2550 ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ และนักไซเบอร์ ต่างต้องรู้ไว้ จะได้เตรียมตัวและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๑๓) ในพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมวดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหมวด อำนาจของเจ้าหน้าที่ แต่ ณ ที่นี้ จะขอกล่าวเพียงบางมาตราที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อให้เว็บมาสเตอร์ และ เจ้าของเว็บไซต์ได้ระวังตัว จะได้ไม่เผลอกระทำผิดกฏหมายแบบไม่เจตนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการ รับ – ส่ง อีเมล เพราะในพระราชบัญญัตินี้มีระบุไว้ว่า

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีถ้าเป็นการส่งอีเมล จะหมายถึงการส่งอีเมลที่แผงไวรัส โทรจัน หรือ เมลบอมบ์ (อีเมลที่แนบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ) เมื่อผู้รับเปิดอีเมลอ่านจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานสะดุด ช้าลง หรือทำให้เครื่องช้า แฮ้งค์ จนใช้งานไม่ได้ ครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งเมล เช็คขนาดของไฟล์ที่แนบว่าใหญ่เกินไปมั้ย มีไวรัสอะไร หรือมีโปรแกรมที่น่าสงสัยติดไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือ สร้างความเสียหายที่กระทบต่อความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ของชาติ อัตราโทษจะเพิ่มสูงขึ้นอีกค่ะ ตรวจเช็คสักนิดก่อนส่งอีเมลนะคะ


มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

การส่งอีเมล หรือ การ Forward Mail ที่เข้าข่าย รูปโป๊ ภาพลามก อนาจาร ภาพตัดต่อ ข้อความที่ไม่เป็นจริง ข้อความทำลายชื่อเสียง หรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ข้อความที่กระทบต่อความมั่งคงของชาติ ข้อความเหล่านี้ถือว่าผิดกฏหมาย นอกจากนี้หากไม่ใช้การ Forward Mail แต่เป็นการโพสไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ตามกระทู้ เว็บบอร์ด บล็อก (Blog) ยังเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ นี้ด้วย

นอกจากนี้หากท่านเป็นเจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ แล้วปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นที่เว็บของท่าน ท่านจะมีความผิดฐานรู้เห็น ยินยอม ให้เกิดข้อความลามก อนาจาร ข้อความกล่าวเท็จพาดพิงให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย ข้อความท้าทายอำนาจรัฐ หรือข้อความที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ ในมาตรา ๑๕ ด้วย

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

เรื่องที่เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ ควรต้องระวังในกฏหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ยังมีอะไรอีกบ้าง อ่านต่อเลยค่ะ

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

หมายถึง การนำภาพที่สร้างความเสื่อมเสีย เสียหาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย โดยภาพนั้นมาจากการตัดต่อ แล้วนำไปโพสไว้ตามเว็บบอร์ด เว็บไซต์ Forward mail ถือว่ามีความผิดตามมาตรา ๑๖ นี้

นอกจากนี้แล้วยังมีข้อควรระวังอีกข้อสำหรับเจ้าของเว็บรือเว็บมาสเตอร์ ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้งานในระบบเว็บไซต์ของตนเอง ทั้งชื่อ – นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลข IP เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน ตามกฏหมายมาตราที่ ๒๖

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท


พระราชบัญญัติ ฉบับสมบูรณ์ Download zip file ได้ที่comcrime_20070629_1[1].rar - RAR archive, unpacked size 118,710 bytes

เติมเพิ่มเติม
http://www.lawyerthai.com/articles/it/063.phpเป็นเวบไซต์ที่รวม link เกี่ยวข้องกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law)
3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (National Information Infrastructure Law)
4. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime)
5. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)

ข้อมูลเหล่านี้คงมีประโยชน์บ้าง สำหรับผู้ที่ต้องการหาความรู้เพิ่ม

ที่มา:

http://law.siamhrm.com/?
http://www.geocities.com/elaw007/thai.html
http://www.lawyerthai.com/articles/it/063.php
name=news&file=readnews&max=1741
http:// www.nitc.go.th
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2167 19 พ.ย. - 22 พ.ย. 2549
 

เทคนิคการทำ Blog ให้น่าติดตาม

จะทำอย่างไรให้ Blog ของเรามีคนเข้ามาแล้วอยากกลับเข้ามาอีก เข้ามาแล้วคลิกอ่านหลายๆ หน้า ^^
By enjoyday.net
1. เมื่อผู้ชมเข้ามายัง Blog สิ่งแรกที่เห็นก็คือหน้าตาของ Blog ซึ่งควรจะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมตั้งแต่แรกพบ (เหมือนรักแรกพบนั่นแหละค่ะ :รักนะ: ) Theme ที่เราเลือกใช้นั้นจะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ของ Blog และมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ชมสนใจคลิกดูหน้าอื่นๆ อีกหรือไม่ ฉะนั้นการเลือก Theme ที่สวยงาม และเข้ากับเนื้อหาของ Blog จะช่วยสร้างบรรยากาศที่น่าประทับใจได้
โดยส่วนตัวแล้วชอบหน้าตาเว็บที่เรียบง่าย และดูสะอาดตาค่ะ หน้าตา blog ของ enjoyday ก็เลยออกมาเรียบๆ อย่างที่เห็น

ที่มาของรูป blogthemes.info

2. ในหน้าแรกควรมีข้อความแนะนำ Blog ของเราว่าเป็น Blog ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีไฮไลท์เรื่องอะไร ก็ให้เอามาโชว์ให้หมด อย่าให้ผู้ชมเข้ามาแล้วงงๆ ที่นี่ที่ไหน สุดท้ายก็จากไปโดยไม่คลิกอ่านสักหน้า
3. ตั้งชื่อเรื่อง/บทความ ที่เขียนให้น่าสนใจ อ่านหัวข้อแล้วสะดุด จนต้องคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหา
4. นำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจ มีประโยชน์ ทันสมัย อาจเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสนิยม และควร Update บ่อยๆ
5. เวลาเขียนบทความ ส่วนไหนที่เป็นหัวข้อหลัก หรือหัวข้อย่อย ควรเน้นใส่ตัวหนา หรือเปลี่ยนสีให้ชัดเจน หรือจะเขียน Overview หัวข้อไว้ก่อนที่จะเข้าส่วนเนื้อหาก็ได้ จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพรวม และจับประเด็นของเนื้อหาได้ดี
6. ในการเขียนบทความ ไม่ควรพิมพ์ข้อความยาวติดเป็นพืด ควรเว้นวรรค และเคาะบรรทัดบ้าง มีการขึ้นย่อหน้าใหม่เวลาเปลี่ยนเรื่อง หรืออาจนำเสนอเนื้อหาโดยแบ่งเป็นข้อๆ ก็ได้ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น
7. ถ้าเนื้อหาที่จะเขียนยาวมาก ควรแบ่งเขียนเป็นตอนๆ จะทำให้คนอ่านไม่ล้า โดยปกติคนส่วนใหญ่จะไม่นิยมอ่านเรื่องอะไรที่ยาวมากๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรอกค่ะ อย่างผู้เขียนเวลาอ่านบทความที่ยาวมากๆ มักจะเลิกอ่านกลางคัน แต่ถ้ามีการแบ่งเป็นตอนๆ กลับอ่านได้จนจบ เป็นเรื่องของจิตวิทยาอย่างหนึ่ง
8. ใส่ภาพประกอบลงไปในบทความด้วย จะทำให้บทความนั้นน่าสนใจขึ้น ดูแล้วไม่เบื่อ โดยเฉพาะบทความที่สอนการใช้งานโปรแกรม, การติดตั้งโปรแกรม ถ้ามีภาพประกอบจะช่วยให้เข้าใจง่าย ไม่ต้องเขียนคำบรรยายประกอบจนเยิ่นเย้อ ต้องขยัน Capture รูปหน่อย

9. การอ้างถึงบทความก่อนให้ใส่ลิงค์เอาไว้ให้ด้วย คนอ่านจะได้คลิกอ่านได้เลยไม่ต้องไปค้นหาเอง เช่น ผู้เขียนเคยเขียนเรื่อง “Blog คืออะไร” เอาไว้ ต่อมาเขียนเรื่อง “การสร้าง Blog ด้วย WordPress” ก็จะทำลิงค์ไว้ตรงคำว่า Blog ให้เชื่อมไปหน้าบทความ Blog คืออะไร เป็นต้น
10. ติดตั้ง Plugin ที่ทำ Related Posts ไว้ด้วย บางครั้งคนอ่านมาเจอเว็บเราจากการค้นหาในเว็บ Search Engine ก็จะเข้ามาที่หน้าบทความหน้าใดหน้าหนึ่ง พออ่านเสร็จก็มักจะออกไปเลย แต่ถ้าได้เห็นลิงค์ของเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เกิน 50% ต้องคลิกอ่านต่อแน่นอนค่ะ
11. ในหน้าบทความ ควรมีลิงค์สำหรับคลิกให้อ่านหน้าก่อนหน้านี้ และหน้าถัดไป ผู้ชมจะคลิกหรือไม่คลิก ก็แล้วแต่ค่ะ อย่างน้อยเราได้เพิ่มโอกาสให้ผู้ชมได้รู้จัก Blog เรามากขึ้นในบทความอื่นๆ
12. ติดตั้ง Plugin ที่แสดงเรื่อง/บทความ ที่มีคนอ่านมากที่สุด (Most Viewed) หรือแนะนำให้อ่าน (Recommended) ก็เหมือนกับร้านหนังสือที่มีการ show หนังสือที่ติดอันดับขายดีไว้หน้าร้านแหละค่ะ เห็นคนอ่านเยอะๆ ก็ต้องคลิกเข้าไปอ่านดูบ้าง เรื่องของจิตวิทยาอีกแล้ว
13. ควรมีหน้า Site map หรือแผงผังเว็บไซต์ ที่แสดงเนื้อหาทั้งหมดของ Blog หน้านี้จะเหมือนกับหน้าสารบัญในหนังสือ เวลาเราจะซื้อหนังสือก็มักจะดูจากสารบัญ ว่ามีเรื่องที่เราสนใจอยากอ่านหรือเปล่า Blog ของเราควรมีหน้านี้เหมือนกันค่ะ
14. อย่ายัดเยียดโฆษณาให้ผู้อ่านมากเกินไป จนน่ารำคาญ
15. ถ้ามีคนมาเขียน Comment ถามอะไร เจ้าของ Blog ก็ควรตอบกลับด้วย แสดงว่าเราน่ะเป็นมิตร แล้วยังจะได้เพื่อนเพิ่มด้วย

ที่มา http://www.enjoyday.net/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-blog-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


10 วิธีการเล่นอินเตอร์เน็ตให้ปลอดภัย
1. เช็กเครื่องทุกครั้งก่อนออกสตาร์ต 
การเช็กเครื่องที่บอกนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องเปิดฝาเคสออกแล้วดู ข้างในหรอกนะค่ะ แต่หมายถึง ก่อนที่เราจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง สิ่งที่เราต้องหมั่นเช็กทุกครั้งก็คือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสยังทำงานอยู่หรือไม่ รวมถึงโปรแกรมรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่องยังคงตรวจหาความผิดปกติเหมือนเดิมรึเปล่า เพราะมีผู้ใช้หลายคนที่ถูกคุมคามหรือโดนโจมตีทันที หลังจากที่เครื่องเชื่อมต่อกับ internet เรื่องแบบนี้อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้มากทีเดียว หากระบบความปลอดภัยในเครื่องของคุณอ่อนแอสุดๆ
2. อัพเกรดเว็บ Browser เป็นประจำ 
ไม่ว่าคุณจะใช้ IE, FireFox, Opera, Ntescape หรือเว็บบราวเซอร์ตัวใดก็ตามในการท่องโลก internet สิ่งสำคัญที่คุณควรจดจำไว้ให้มั่นก็คือ หมั่นอัพเกรดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ทุกครั้งที่มีเวอร์ชั่นใหม่ หรือมีแพชต์ต่างๆออกมา เพราะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยอุดรูรั่วหรือช่องโหว่ที่มาจากโปรแกรม ซึ่งอาจเป็นช่องทางที่ไวรัสหรือแฮกเกอร์จะใช้เจาะเข้ามาบุกโจมตีได้ ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ผู้ใช้สามารถสร้างกำแพงป้องกันขึ้นมาได้ด้วยตัว เอง
3. รหัสผ่านของดีที่ควรมี 
การเซตรหัสผ่านก่อนเข้าเครื่อง หรือส่วนใดๆก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพ์ หรือเข้าถึงไฟล์ในเครื่องได้โดยง่ายนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเมือ่ใดก็ตามที่คุณออนไลน์อยู่บนโลกของอินเทอร์เน็ต โอกาสที่จะถูกโจมตีอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวก็มีสูงเช่นกัน ดังนั้น รหัสผ่านพวกนี้แหล่ะค่ะ ที่จะช่วยคุณได้ เพียงแต่ต้องระวังอย่าเก็บรหัสผ่านไว้ในที่ไม่ปลอดภัย หรือตั้งชื่อที่ใครก็สามารถคาดเดาได้โดยง่าย!
4. เล่นเน็ตฟรีระวังของดีถามหา 
ใครๆ ก็ชอบของฟรี ยิ่งได้เล่นเน็ตฟรีๆแบบนี้ยิ่งชอบ ใครที่มีโน้ตบุ๊กแล้วมักพกติดตัวไปนั่งในร้านโปรด แล้วเซิร์ฟเน็ตแบบไร้สาย หรือบางคนทีแอบเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ที่ชาวบ้านเขาเปิดทิ้งเอาไว้ แต่ระวังไว้เถอะค่ะ เพราะว่าคุณอาจโดนเล่นงานเอาง่ายๆ เพราะตอนนี้แทบทุกที่ในตัวเมืองจะมีจุดให้บริการเน็ตไร้สายอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีพวกมิจฉาชีพหัวใส แกล้งเปิด Access point เอาไว้ ล่อพวกแมงเม่าที่ชอบของฟรีให้มาติดกับ เพียงแค่คุณเชื่อมต่อเข้าไปยังจุดเชื่อมต่อสัญญาณดังกล่าว บรรดามิจฉาชีพพวกนี้ก็สามารถขโมยข้อมูลจากเครื่องของคุณได้โดยไม่ยากเย็น หรือแม้แต่ฝากของแถมกลับไปยังเครื่องของคุณอีกด้วย!!
5. มันมากับอีเมล์ 
อีเมล์บอกรักจากแฟนของคุณ อาจทำให้คุณดีใจจนเปิดรับทุกสิ่งที่แนบมากับอีเมล์ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเพียงแค่ส่งอักษรไม่กี่ตัวไปยังเครื่องเป้าหมาย จากนั้นก็ขโมยรายชื่ออีเมล์แอดเดรสมา เท่านี้คุณก็สามารถปลอมตัวเป็นใครก็ได้ ภัยออนไลน์แบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เพียงมันเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ และเพิ่มความน่ากลัวขึ้นทุกวัน ดังนั้น ทุกๆอย่างที่คุณเห็นและได้รับมาจากอีเมล์ อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อทันที เพระานั่นอาจไม่ได้มาจากคนที่คุณรู้จักก็เป็นได้
6. อย่าแซตเพลินจนเผลอเลอ 
ใครที่ชอบแซต ชอบคุยผ่าน MSN หรือแซตผ่านเว็บก็ตาม ถ้าคุณมัวแต่คุยเพลินจนลืมดูว่ามีสิ่งผิดปกติโผล่มาที่หน้าจอนั้น แบบนี้อันตรายมากๆค่ะ ภัยแอบแฝงที่มากับโปรแกรมแซตก็คือ การซ่อนหน้าต่างโจมตีไว้ด้านหลัง ซึ่งคุณจะไม่เห็นมันเลย ถ้าไม่เลื่อนหน้าต่างโปรแกรมแซตไปด้านล่างหรือย่อหน้าต่างลง วิธีแอบซ่อนเพื่อโจมตีในลักษณะนี้ เป็นการรอให้คุณคลิกเมาส์หรือกดปุ่มบนคีย์บอร์ดเพื่อสั่งให้โปรแกรมแอบแฝงทำ งาน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไวรัส หรือสคริปต์ประสงค์ร้ายต่างๆ นอกจากโปรแกรมแซตแล้ว ควรระวังการเิปิดดูหน้าเว็บที่ไม่ปลอดภัย เพราะภัยดังกล่าวมักมีที่มาจากเว็บไซต์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน
7. ช็อปปิ้งออนไลน์ ถ้าไม่มั่นใจอย่าเสี่ยง 
ใครก็ตามที่ชื่นชอบการช็อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตผ่านระบบออนไลน์แล้ว ต้องระวังอย่างมากที่สุด เพื่อล่อเหยื่อที่เป็นผู้ใช้มือใหม่ให้มาติดกับ การตรวจสอบเองด้วยตาเปล่าอาจทำได้ยาก ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเสี่ยงที่จะสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่ต้องชำระเงินด้วย บัตรเครดิต ถึงแม้จะเป็นเว็บไซต์ที่คุณใช้บริการอยู่เป็นประจำก็ตามที แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้บริการด้วยวิธีนี้จริงๆ แนะนำว่าอย่าใช้บริการจากร้านอินเตอร์เน็ตนะค่ะ เพราะเราอาจไม่ทราบว่าได้มีการติดตั้งโปรแกรมจับการกดค่าคีย์เอาไว้หรือไม่ และวิธีง่ายๆที่คุณสามารถตรวจสอบได้เองในเบื้องต้น ก็คือดูที่ไอคอนรูปกุญแจตรงมุมขวาของบราวเซอร์ว่ายังปิดล็อกอยู่หรือไม่ รวมทั้งการพิมพ์ URL ทดสอบ โดยให้พิมพ์ URL ของเว็บที่คุณเข้าไปในอีกหน้าต่างหนึ่ง หากหน้าเว็บที่ปรากฎไม่เหมือนเดิมหรือดูแปลกๆไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นหน้าเว็บที่ปลอมขึ้นมา วิธีนี้เป็นการตรวจสอบการปลอมแปลงหน้าเว็บที่ถูกเปลี่ยน URL ในไฟล์ DNS ให้ลิงค์ไปที่หน้าเว็บปลอมแทน!
8. อย่าเปิดเครื่องทิ้งไว้ หลังทำธุรกรรมอนไลน์ 
สำหรับใครที่เข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะหรือจากร้านเน็ตคาเฟ่เพื่อทำธุรกรรมทาง อินเทอร์เน็ต ซึ่งจำเป็นต้องมีบัตรเครดิตด้วย เรื่องน่ากลัวมักเกิดขึ้นหลังจากที่คุณทำธุระเสร็จ และเพิ่งลุกออกไปได้ไม่นาน... การกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์นั้น ข้อมูลบางอย่างที่ถูกเก็บไว้ในเครื่อง ซึ่งแฮกเกอร์สามารถขุดคุ้ยข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งถ้าคุุณลุกออกไปโดยไม่ปิเครื่องหรือลืม Log Off จากหน้าต่างที่เข้าไปใช้บริการด้วยแล้ว แบบนี้ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ ดังนั้น หลังทำธุรกรรมออนไลน์ทุกครั้งควร Log Off จากหน้าเว็บที่ให้บริการให้เรียบร้อย และสถานที่ที่ไม่ควรเข้าไปใช้บริการแบบนี้ก็คือที่สาธารณะหรือร้านเน็ตนั่น เองค่ะ!
9. หน้าต่าง Error ลวงโลก 
วัน ดีคืนดีคุณอาจเจอหน้าต่างแจ้งเตือนจากวินโดวส์ขึ้นมา โดยฟ้องว่ามีการทำงานบางส่วนผิดปกติ ให้ Debug บ้าง หรือกด Yes, No, OK อะไรไปเรื่อย ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องปกติที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เจอกัน แต่จริงๆแล้ว มันมีเรื่องน่ากลัวแฝงอยู่ภายใต้หน้าต่างแจ้งเตือนดังกล่าวด้วยเช่นกัน ภัยมืดที่กำลังพูดถึงก็คือ หน้าต่าง Error ลวงโลก หรือหน้าต่างแจ้งเตือนที่ปลอมขึ้นมาจนเหมือนมากๆ ดังนั้น ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าหน้าต่างที่เด้งขึ้นมาเป็นของจริงหรือปลอม แนะนำว่าไม่ควรคลิกหรือกดปุ่มใดๆทั้งนั้น ถึงแม้ว่ามันจะมีเครื่องหมายกากบาทสำหรับปิดหน้าต่างก็ตามที ถ้าคุณเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่ควรทำก็คือ ตวรจดูว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสยังทำงานอยู่หรือไม่ ถ้าอยู่ๆไอคอนแอนตี้ไวรัสเป็นสีจาง หรือมีกากบาทเหมือนถูกสั่งให้ถูก Disable แบบนี้กดปิดเครื่องได้เลยค่ะ แต่ถ้าแอนตี้ไวรัสยังทำงานอยู่ ให้สั่งสแกนไปที่ พาธ C:\Document and Setting\[user]\ ก่อนเป็นอันดับแรก และตามด้วย C:\WINDOWS\Temp\Temporary Internet Files
10. หมั่นสแกนเครื่อง อัพเดตแพตซ์โปรแกรม 
ข้อสุดท้ายนี้ทำได้ไม่ยากเลยแต่หลายคนมักลืมหรือละเลยถ้าคุณติดตั้งโปรแกรมเเอนตี้ไวรัสเวอร์ชึ่นล่าสุด หรือโปรแกรมประเภท Internet Security Suitr เอาไว้ แต่ไม่เคยเข้าไปดูรายละเอียดว่ามันทำงานอะไรได้บ้าง หรือมีการคอนฟิกค่าไว้แบบใดบ้าง แบบนี้ถึงมีโปรแกรมดีดีก็เปล่าประโยชน์ค่ะ เพราะถ้าหากคุณไม่รู้วิธีการตั้งค่าโปรแกรมเหล่านี้ดีพอ ก็อาจทำให้การใช้งานเครื่องคอมของคุณสะดุดเอาง่ายๆ นอกจากนี้ ก็ควรหมั่นเข้าไปยังเว็บไซต์ผู้ผลิตซอร์ฟแวร์ที่คุณใช้บริการด้วย เพราะบ่อยครั้งข้อมูลการแจ้งเตือนก็มาจากหน้าเว็บที่คุณต้องอ่านเอง เพื่อเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเองก่อนที่ภัยต่างๆจะมาถึง ส่วนแพชต์อัพเดคนั้นก็ควรเปิดออโต้ฯเอาไว้ด้วย สำหรับผู้ที่ใช้วินโดวส์ สิ่งที่ควรหมั่นทำเป็นประจำก็คือ การตรวจสุขภาพของระบบปฏิบัติการ ตั้งแต่การสแกนด้วยตัวยูทิลตี้เสริมต่างๆที่มีให้ดาวน์โหลด อย่าลืมตรวจสอบการทำงานของ System Restore ด้วยว่ายังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ เพราะบ่อยครั้งที่รอยรั่วอาจมาจากระบบปฏิบัติการเองที่มีความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว


ที่มา http://kawthoung.blogspot.com/2008/06/10.html
ประโยชน์และความสำคัญของ Blog

Blog ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ส่วนใหญ่) ใช้งานง่าย ...โดยผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษา หรือโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ เลยก็ย่อมได้ สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่าย บนหน้าจอ ณ เวลานั้นเลย แต่หากจะมีความรู้เรื่องภาษา Html ก็จะยิ่งดีมากๆ เพื่อช่วยในการปรับแต่งในขั้นลึกยิ่งขึ้น..ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมาย กว้างขวางยิ่งกว่าไดอารี่หรือบันทึกส่วนตัวทั่วๆ ไป
ประโยชน์ของ Blog สามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
  1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
  2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
  4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
  5. และอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อดี ข้อเสียของอินเตอร์เน็ต

    ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
    1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางกาแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
    2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
    3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
    4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
    5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
    6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
    7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
    8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
    9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
    10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน


ข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
    1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
    2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม


ที่มา http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g18m2fri/internet_goodbad.htm

           การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในระบบ internet นั้นใช้มาตรฐาน TCP/ IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้ เวลาติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะอ้างถึงหมายเลขประจำตัวเครื่องปลายทางที่เราติดต่อได้ทันที โดยปกติเครื่อง Web Server จะมี IP Address ทั้งนี้เกิดปัญหาในการจำ เพราะว่า IP Address มีตัวเลขถึง 12 ตัว จากจุดนี้เลยได้มีการคิดที่จะแปลง IP Address ให้เป็นชื่อที่จำได้ง่าย Domain Name System จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้ชื่อแทนที่หมายเลข IP ฉะนั้น DNS คือระบบการแปลงค่าระหว่าง IP Address และชื่อเครื่อง(Host) เช่น IP Address "203.78.96.175" เรียกเป็น "http://thaiddns.com" (ไทยดีดีเอ็นเอสดอทคอม)
          โดเมนเนม ก็คือ ชื่อของเว็บ (Web address) ที่เข้ามาแทนที่ด้วยตัวเลข IP ปัจจุบันจะนิยมใช้ชื่อโดเมนเมากกว่า เพราะจำง่าย ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเข้ามาที่เว็บไซต์ของTh@iDDNS.COM (IP : 203.78.96.175) เพื่อเรียกดูหน้าเว็บเพจ ที่ตั้งอยู่ที่ http://thaiddns.com. ซึ่ง 'thaiddns.com' คือ ชื่อโดเมน ที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้
โดเมนหลักๆที่ใช้กันอยู่ในเมืองไทยนั้นมีอยู่ 2 แบบคือ
1. โดเมนของอเมริกาซึ่งลงท้ายด้วย .com .net .org .biz .info เป็นต้น
      
            • .com จะใช้กับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร
            • .net จะใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
            • .org จะใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
2. โดเมนของไทยซึ่งลงท้ายด้วย .co.th .net.th .or.th .in.th เป็นต้น
     
   • .co.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่แสวงหาผลกำไร
   • .net.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
   • .or.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประทศไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร
   • .ac.th จะใช้กับมหาวิทยาลัย โรงเรียน
   • .in.th จะใช้กับบุคคลหรือองค์กรใดๆก็ได้ในประเทศไทย

บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต


บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

        บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น

        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)
        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)
        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica
        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.com

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_5.html